ตอนที่ 1 การประเมินสภาวะของผู้ป่วย ก่อนเริ่มการรักษาทางทันตกรรม ‘ไม่มี’ เงื่อนไขของ ‘เอชไอวี’
ในคู่มือ “แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม 2567 – DENTAL SAFETY GOALS & GUIDELINES 2024” (ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 พฤษภาคม 2567) หน้า 15 ระบุถึงเกณฑ์ประเมินสภาวะของผู้ป่วย ก่อนเริ่มการรักษาทางทันตกรรม ประกอบด้วย…

- การวัดความดันโลหิตและชีพจร
1.1 ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป วัดความดันโลหิตและชีพจร ก่อนเริ่มการรักษาแต่ละครั้ง
1.2 ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 13 ปี และมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง (มี 10 กลุ่มโรค) ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงชนิดทราบสาเหตุ โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคอ้วน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่คอดรุนแรงที่ได้รับการรักษาแล้ว โรคทางพันธุกรรมที่่สัมพันธ์กับโรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแล้ว และผู้ป่วยที่คลอดก่อนกำหนด โดยครั้งแรกที่มารับการรักษา ให้วัดความดันโลหิตและชีพจร เพื่อบันทึกเป็นข้อมูลเริ่มต้น และครั้งถัดไปที่มารับการรักษา ให้วัดความดันโลหิตและชีพจรก่อนเริ่มการรักษาที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรือความวิตกกังวล เช่น การฉีดยาชา หรือการถอนฟัน - การซักประวัติสุขภาพ ประวัติใช้ยา และประวัติแพ้ยา และสารอื่นของผู้ป่วยทุกรายก่อนเริ่มการรักษาแต่ละครั้ง
ตอนที่ 2 มาตรการพื้นฐานที่ใช้ควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม ‘เพียงพอแล้ว’ สำหรับเอชไอวี
“มาตรฐานควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม” (Standard Precaution) เป็น “มาตรการพื้นฐาน” ที่ให้คลินิกทันตกรรมทุกขนาด ใช้ควบคุมการติดเชื้อทางทันตกรรม เพื่อป้องกันผู้ป่วยและบุคลากร “ทุกคน” อาจติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน
มาตรการ Standard Precaution ประกอบด้วย การทำความสะอาดมือ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล การดูแลสุขอนามัยทางเดินหายใจ และสร้างสุขนิสัยการไอจาม การฉีดยาอย่างปลอดภัย การจัดเตรียมเครื่่องมือรักษาผู้ป่วย การดูแลพื้นผิวในคลินิก และการจัดการขยะและสิ่งมีคมอย่างเหมาะสม
ส่วนมาตรการที่จะนำมาใช้เพิ่มเติม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งมาตรการ Standard Precaution อย่างเดียวไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ โดยมี 3 ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อ คือ ทางการสัมผัส ทางละอองฝอย และทางอากาศ
ตัวอย่างการใช้มาตรการควบคุมการติดเชื้อต่อโรคติดเชื้อต่าง ๆ ทางทันตกรรม

ที่มาของข้อมูล: แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม 2567 – DENTAL SAFETY GOALS & GUIDELINES 2024 (ฉบับปรับปรุงวันที่ 1 พฤษภาคม 2567) https://dentalcouncil.or.th/Pages/DentalSafetyGoal