วันนี้ (20 พ.ค. 2558) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ร่วมด้วยมูลนิธิโอโซน มูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการรักษาเอดส์ และชมรมเภสัชชนบท ได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และรมว.กระทรวงพาณิชย์ เรียกร้องให้ทั้งสองกระทรวงพิจารณาหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาราคายารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี โดยมี นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรี และ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รักษาราชการปลัด สธ. เป็นตัวแทนรับหนังสือ
นายสมชาย นามสพรรค ตัวแทนผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี กล่าวว่า ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับซีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริง แม้ว่าในสิทธิประโยชน์ของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้บรรจุยารักษาโรคนี้ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2557 แต่กลับพบว่าจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามีจำนวนน้อยมาก สาเหตุหลักๆ มาจากการที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการคัดกรองตรวจหาเชื้อ ส่วนที่ได้รับการตรวจหาเชื้อแล้วและพบว่าติดเชื้อหลายคนไม่ได้รับการรักษาเพราะระบบการรักษายังไม่พร้อม ทั้งตัวแพทย์ที่รักษา โรงพยาบาลที่ไม่รู้ว่าสามารถเบิกได้จากระบบบัตรทอง ไม่นับรวมคนที่ใช้สิทธิรักษาอื่น เช่น ประกันสังคมที่ยังไม่ชัดเจนว่ารองรับการรักษาโรคนี้หรือไม่
นายสมชาย กล่าวต่อไปว่า ปัญหาของยาที่มีในระบบบัตรทองคือเพ็กอินเทอร์เฟอร์รอล(Peginterferon) ซึ่งเป็นยาแบบเก่าที่ใช้ฉีด และต้องรักษานานกว่า 6 เดือนหรือมากกว่า รวมทั้งผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ผู้ป่วย หรือแม้กระทั่งผู้ให้บริการเองก็ไม่อยากรักษา และที่สำคัญโรคนี้หากไม่ได้รับการรักษาก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ป่วยเป็นตับแข็งและเป็นมะเร็งตับในที่สุด
ด้านนายเฉลิมศักดิ์ กิตติตระกูล เจ้าหน้าที่รณรงค์เพื่อเข้าถึงการรักษา มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วเริ่มมียาใหม่ที่รักษาโรคไวรัสตับอักเสบซีให้หายขาดได้ ระยะเวลาการรักษาสั้นลงและแทบไม่มีผลข้างเคียง แต่ยามีราคาแพงมาก ตัวอย่างเช่นยาโซฟอสบูเวียร์ (Sofosbuvir) ของบริษัทกิลิแอด หากรักษาจนครบ 3 เดือนจะต้องจ่ายเงินประมาณ 2.5 ล้านบาท หรือตกเม็ดละ 30,000 บาท ซึ่งราคายาเม็ดเดียวเท่ากับซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนยี่ห้อดังได้ 1 เครื่อง กินวันละเม็ดก็เท่ากับซื้อโทรศัพท์วันละเครื่อง“ในระดับสากล ยาโซฟอสบูเวียร์ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนว่าสมควรที่จะได้รับสิทธิบัตรในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ยุโรป อียิปต์ โมร็อคโค ยูเครน รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตยาไม่เข้าหลักเกณฑ์การให้การคุ้มครองสิทธิบัตรในเรื่องความใหม่และขั้นตอนการผลิตที่สูงขึ้น นักวิเคราะห์บางคนประเมินว่าต้นทุนการผลิตที่แท้จริงอาจมีราคาไม่ถึง 100 บาทต่อเม็ด” นายเฉลิมศักดิ์กล่าว
นายเฉลิมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เล่ห์กลอีกอย่างที่บริษัทยากิลิแอดได้เดินหน้าหาทางผูกขาดตลาดยาตัวนี้ คือการทำสัญญากับบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญในอินเดีย 11 บริษัท โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทยาอินเดียผลิตยาโซฟอสบูเวียร์ และขายในราคาที่ถูกลงได้ แต่ให้ขายเฉพาะบางประเทศที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น โดยยกเว้นไม่ขายให้กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 51 ประเทศ ซึ่งมีผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีรวมกันมากกว่า 150 ล้านคน และไทยเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น
ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า การที่บริษัทยาสามารถใช้ช่องทางกฏหมายสิทธิบัตรผูกขาดราคายาได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบของรัฐที่มีช่องโหว่ โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยา โดยที่ในประเทศไทยมีการทำข้อมูลวิจัยย้อนหลังเพื่อดูว่าที่ผ่านมา ว่ามีการให้สิทธิบัตรกับยาที่ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรไปแล้วเท่าไหร่ ผลวิจัยพบว่ามีคำขอมากกว่า 70%ที่ไม่สมควรจะได้รับสิทธิบัตร ซึ่งหมายความว่าสิทธิบัตรยาเหล่านี้สามารถผูกขาดตลาดยานั้นๆได้ถึง 20 ปีหรืออาจมากกว่านั้น
“แม้ว่ากฎหมายสิทธิบัตรจะเปิดโอกาสให้มีการยื่นคัดค้านหากพบว่าคำขอนั้นไม่เข้าข่ายสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือมีขั้นตอนการผลิตที่สูงขึ้น แต่กลับพบว่าระบบการประกาศโฆษณาคำขอสิทธิบัตรรวมทั้งระบบการสืบค้นข้อมูลคำขอที่ดูแลโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่เอื้ออำนวยและยากต่อการสืบค้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดสิทธิบัตรที่ไร้คุณภาพ กรมฯ ต้องเร่งแก้ปัญหาระบบตรวจสอบคำขอสิทธิบัตร โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ที่มีความต่างจากสินค้าอื่นที่ต้องการการพิจารณาที่มีคุณภาพ และต้องคำนึงถึงสิทธิคุ้มครองผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาคู่กันไปด้วย แต่ทุกวันนี้แม้ว่าจะมีการผลักดันให้เกิดคู่มือการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยา แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่ไม่รู้ว่าทำไมกรมฯ ถึงยังไม่สามารถยกระดับประสิทธิภาพเรื่องนี้ได้ แบบนี้สู้ไม่ต้องมีกรมฯ น่าจะดีกว่า” นายนิมิตร์ กล่าว
ทั้งนี้วันนี้ (20 พ.ค.) ทั่วโลกได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันและประณามพฤติกรรมของบริษัทยากิลิแอดที่ดำเนินธุรกิจขายยาดังกล่าวในหลายประเทศ เช่น บราซิล อาร์เจนติน ยูเครน และรัสเซีย เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ นักกฏหมาย ภาคประชาสังคม จะยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรยาโซฟอสบูเวียร์ของบริษัทกิลิแอทต่อสำนักงานสิทธิบัตรในประเทศของตัวเองพร้อมกัน ส่วนอินเดีย โมร็อคโค และไทย กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ และภาคประชาสังคมจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันในวันนี้
“ในระดับสากล ยาโซฟอสบูเวียร์ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนว่าสมควรที่จะได้รับสิทธิบัตรในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ยุโรป อียิปต์ โมร็อคโค ยูเครน รัสเซีย จีน อินโดนีเซีย เป็นต้น เนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตยาไม่เข้าหลักเกณฑ์การให้การคุ้มครองสิทธิบัตรในเรื่องความใหม่และขั้นตอนการผลิตที่สูงขึ้น นักวิเคราะห์บางคนประเมินว่าต้นทุนการผลิตที่แท้จริงอาจมีราคาไม่ถึง 100 บาทต่อเม็ด” นายเฉลิมศักดิ์กล่าว
นายเฉลิมศักดิ์ กล่าวอีกว่า เล่ห์กลอีกอย่างที่บริษัทยากิลิแอดได้เดินหน้าหาทางผูกขาดตลาดยาตัวนี้ คือการทำสัญญากับบริษัทผู้ผลิตยาชื่อสามัญในอินเดีย 11 บริษัท โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทยาอินเดียผลิตยาโซฟอสบูเวียร์ และขายในราคาที่ถูกลงได้ แต่ให้ขายเฉพาะบางประเทศที่ระบุไว้ในสัญญาเท่านั้น โดยยกเว้นไม่ขายให้กับประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 51 ประเทศ ซึ่งมีผู้มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีรวมกันมากกว่า 50 ล้านคน และไทยเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านั้น
ด้านนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า การที่บริษัทยาสามารถใช้ช่องทางกฏหมายสิทธิบัตรผูกขาดราคายาได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากระบบของรัฐที่มีช่องโหว่ โดยเฉพาะระบบการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยา โดยที่ในประเทศไทยมีการทำข้อมูลวิจัยย้อนหลังเพื่อดูว่าที่ผ่านมา ว่ามีการให้สิทธิบัตรกับยาที่ไม่สมควรได้รับสิทธิบัตรไปแล้วเท่าไหร่ ผลวิจัยพบว่ามีคำขอมากกว่า 70%ที่ไม่สมควรจะได้รับสิทธิบัตร ซึ่งหมายความว่าสิทธิบัตรยาเหล่านี้สามารถผูกขาดตลาดยานั้นๆได้ถึง 20 ปีหรืออาจมากกว่านั้น
“แม้ว่ากฎหมายสิทธิบัตรจะเปิดโอกาสให้มีการยื่นคัดค้านหากพบว่าคำขอนั้นไม่เข้าข่ายสิ่งประดิษฐ์ใหม่ หรือมีขั้นตอนการผลิตที่สูงขึ้น แต่กลับพบว่าระบบการประกาศโฆษณาคำขอสิทธิบัตรรวมทั้งระบบการสืบค้นข้อมูลคำขอที่ดูแลโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ไม่เอื้ออำนวยและยากต่อการสืบค้น ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดสิทธิบัตรที่ไร้คุณภาพ กรมฯ ต้องเร่งแก้ปัญหาระบบตรวจสอบคำขอสิทธิบัตร โดยเฉพาะสิทธิบัตรยา ที่มีความต่างจากสินค้าอื่นที่ต้องการการพิจารณาที่มีคุณภาพ และต้องคำนึงถึงสิทธิคุ้มครองผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาคู่กันไปด้วย แต่ทุกวันนี้แม้ว่าจะมีการผลักดันให้เกิดคู่มือการตรวจสอบคำขอสิทธิบัตรยา แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่ไม่รู้ว่าทำไมกรมฯ ถึงยังไม่สามารถยกระดับประสิทธิภาพเรื่องนี้ได้ แบบนี้สู้ไม่ต้องมีกรมฯ น่าจะดีกว่า” นายนิมิตร์ กล่าว
ทั้งนี้วันนี้ (20 พ.ค.) ทั่วโลกได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อกดดันและประณามพฤติกรรมของบริษัทยากิลิแอดที่ดำเนินธุรกิจขายยาดังกล่าวในหลายประเทศ เช่น บราซิล อาร์เจนติน ยูเครน และรัสเซีย เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ นักกฏหมาย ภาคประชาสังคม จะยื่นคัดค้านคำขอสิทธิบัตรยาโซฟอสบูเวียร์ของบริษัทกิลิแอทต่อสำนักงานสิทธิบัตรในประเทศของตัวเองพร้อมกัน ส่วนอินเดีย โมร็อคโค และไทย กลุ่มผู้ติดเชื้อฯ และภาคประชาสังคมจัดกิจกรรมรณรงค์พร้อมกันในวันนี้