ข้อตกลงเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก ในด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์
- ข้อมูลเด็กและรูปถ่ายส่วนตัวของเด็ก ต้องเก็บเป็นความลับ และต้องจำกัดจำนวนผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
- ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลเด็ก ครอบครัว ต่อบุคคลซึ่งไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง หรือเปิดเผยต่อสาธารณะโดยมิได้รับความยินยอมจากครอบครัวและ (ในบางกรณีที่เหมาะสม) จากเด็กนั้น
- การสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเรื่องของเด็ก ควรใช้รูปภาพที่เหมาะสม และให้เกียรติกับเด็ก ไม่ใช่เสนอภาพที่ให้เห็นว่าเด็กตกเป็นเหยื่อของการถูกกระทำทารุณกรรม ทอดทิ้งหรือละเลย ใบหน้าของเด็กที่แสดงถึงความไม่มีความสุข สภาพบ้านเรือน ครอบครัวของเด็กในลักษณะที่น่าเศร้าใจ และเด็กควรแต่งกายให้มิดชิดและควรหลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพที่มีลักษณะท่าทางเป็นเชิงยั่วยวนทางเพศ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่สื่อถึงความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ ซึ่งภาษาเช่นนี้อาจบอกเป็นนัยว่าเด็กด้อยกว่าองค์การ หรือผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ
- การใช้ภาพเด็ก ควรต้องขออนุญาติอย่างเป็นทางการจากเด็ก, บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กก่อน การยินยอมควรทำเป็นลายลักษณ์อักษร และอาจเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ ซึ่งบิดามารดาหรือผู้ปกครอง ต้องเซ็นต์อนุญาตเมื่อเด็กเข้าร่วมกิจกรรม
- เมื่อจัดทำเว็บไซต์หรือสื่อสารประชาสัมพันธ์รูปแบบอื่นที่เกี่ยวข้องกับตัว ไม่ควรลงข้อมูลส่วนตัวหรือด้านกายภาพ ที่บุคคลภายนอกอาจใช้หาข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงของเด็ก
- ไม่ควรส่งข้อมูลเด็กทางแฟกซ์ นอกจากว่าจำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดยปกติแล้วข้อมูลที่ส่งทางอีเมล์ควรกำหนดหัวข้อเป็นข้อความกลาง ๆ และระบุว่าเป็น “เอกสารปกปิด”
- การนำเสนอรูป หรือนำเรื่องราวของเด็กไปใช้ ต้องมีกระบวนการพูดคุย ทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน ให้ผู้ปกครองหรือเด็กสามารถตัดสินได้อย่างมีอิสระ และมีการเซ็นต์ยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรทุกครั้ง